หลวงปู่ฤาษีนารอท รุ่นไหว้ครู ๕๖
ความเชื่อโบราณกล่าวกันว่า... หากไม่มีการอัญเชิญท่านแล้ว พิธีกรรมนั้นๆมักไม่สำเร็จสมบูรณ์ !! พระนารท หรือ หลวงปู่ฤาษีนารอท เป็น ๑ ใน ๑๐ ของพระประชาบดีผู้เป็นใหญ่ เป็นบรมครูของฤาษีทั้งปวง ถือว่าเป็นฤาษีองค์แรกของไตรภูมิ ทรงกำเนิดจากเศียรที่ ๕ ของพระพรหมธาดาทรงเพศเป็นฤาษี สวมเทริดฤาษียอดบายศรีและอาภรณ์คลุมกายลายหนังเสือ รูปร่างหน้าตาของท่านมีหนวดเครายาวลงมาจากคางถึงระหว่างอก มีคาถาอาคมและวิชาแก่กล้าในศาสตร์หลายแขนง เป็นผู้ที่มีตบะฌานแก่กล้า มีญาณหยั่งรู้กว้างขวางมากบารมี ทรงความรู้รอบด้าน ทั้งพระเวท ทั้งการดนตรี และยังเป็นหมอยาที่มีความเชียวชาญ ปวงชนทั่วไปก็มักจะรู้จักพระนามของท่านแทบทั้งนั้น เก่งในทางรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ถ้าหากผู้ใดมีความทุกข์ที่เกี่ยวกับการเจ็บไข้ได้ป่วย ก็จงบนบานศาลกล่าวกับท่านดูแล้วท่านก็จะต้องเมตตาเสด็จลงมาปัดเป่ารักษาให้ โรคภัยนั้นหายไปในเร็ววัน มหาฤาษีปู่นารอท ผู้มีวิชาแก่กล้าได้บำเพ็ญพรตอยู่เชิงเขาโสฬส นอกเมืองลงกา เมื่อคราวหนุมานไปถวายแหวนแก่นางสีดาได้เหาะเลยเมืองลงกาเพราะไม่รู้จักทาง ไปพบกันเข้าจึงเกิดการประลองฤทธิ์กัน แต่หนุมานเกิดพ่ายแพ้ต่อฤทธิ์พระฤๅษีจึงยอมอ่อนน้อม และเมื่อคราวหนุมานไปเผากรุงลงกาไฟที่ติดหางหนุมานจะดับอย่างไรก็ไม่สามารถ ดับได้ หนุมานจึงไปหาพระฤๅษีนารอทให้ช่วยดับไฟให้ ที่มา...แห่งการสร้างองค์รูปหล่อองค์ปฐมบรมครู หลวงปู่ฤาษีนารอท ปางนั่งบำเพ็ญพรตขัดสมาธิเพชร โดยมีต้นแบบมาจากรูปปั้นองค์หลวงปู่ฤาษีนารอท องค์เก่าคู่วัดตั้งแต่อดีต เดิมทีรูปปั้นถูกตั้งอยู่กลางแจ้งใต้ต้นจันทน์ใกล้กับโกฎิซึ่งเป็นที่บรรจุ อัฐิของชาวบ้านผู้ล่วงลับ ไม่มีหลังคาบังแดดบังฝน และด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เนื่องจากตั้งองค์ท่านไว้ในสถานที่ไม่เหมาะสม จนวันหนึ่งปู่ฤาษีนารอทท่านได้มาบอกกล่าวผ่านร่างประทับทรงว่าให้ย้ายท่านไป ที่อื่น เพราะบริเวณนั้นไม่สงบ มีแต่ดวงวิญญาณของเหล่าสัมภเวสี และผีไม่มีญาติคอยรบกวนตลอดเวลา ทางลูกศิษย์เด็กวัดศรีสุวรรณจึงได้ปรึกษากันและย้ายรูปปั้นท่านมายังบริเวณ ใต้ต้นไทรใหญ่ ใกล้ๆกับกุฎิของหลวงพ่อท้วม โดยได้สร้างศาลให้ท่านมาสถิตเป็นการถาวร ศาลปู่ฤาษีนารอทแห่งนี้มีความศักดิ์สิทธิ์คู่กับวัดศรีสุวรรณ ปัจจุบันชาวบ้านทั่วไปที่มากราบนมัสการหลวงพ่อท้วมก็จะมาสักการะบูชาบนบานขอ พรต่อปู่ฤาษีนารอทควบคู่กันไปด้วย ทุกปี...หลวงพ่อท้วม เขมจาโร จะจัดให้มีพิธีบูชาครู เพื่อกตตเวทีรำลึกและเป็นการแสดงมุฑิตาจิตต่ออดีตบูรพาจารย์ทุกท่านผู้ ประสิทธิ์ประสาทวิชาอาคมให้ และยังเป็นโอกาสที่ศิษยานุศิษย์ได้แสดงออกซึ่งมุฑิตาจิตต่อตัวท่านเองในฐานะ ครูบาอาจารย์อีกด้วย ซึ่งในปีนี้ได้กำหนดให้มีการประกอบพิธี ในวันพฤหัสบดี ที่ 23 พฤษภาคม (ขึ้น14 ค่ำเดือน6) และท่านอนุญาตให้จัดสร้างวัตถุมงคล โดยได้จำลองแบบมาจากองค์ปู่ฤาษีนารอท องค์เก่า เพื่อมอบเป็นที่ระลึกในพิธีไหว้ครู และเชิดชูเกียรติคุณปัจจุบันของอดีตบรมครูทุกท่าน...ไหว้ครู ๕๖
คาถาบูชาพระฤๅษี
...โอมอิมัสมิง พระประโคนธัพ พระมุนีเทวา หิตาตุมเห ปะริภุญชันตุ
ทุติยัมปิ อิมัสมิง พระประโคนธัพ พระมุนีเทวา หิตาตุมเห ปะริภุญชันตุ
ตะติยัมปิ อิมัสมิง พระประโคนธัพ พระมุนีเทวา หิตาตุมเห ปะริภุญชันตุ
*** คำกล่าวบูชา ข้าพเจ้าขอน้อมบูชา องค์บรมครูปู่ฤๅษีนารอท และบรมครูทั้ง ๑๐๘ พระองค์ ขอความมงคลจงบังเกิดแก่ข้าพเจ้าและครอบครัวชั่วกาลนาน
*** เครื่องบูชาเซ่นไหว้ องค์ปู่ฤๅษีนารอท ธูป ๙ ดอก กล้วย มะพร้าวอ่อน ยาเส้น หมากพลู น้ำดื่ม .
.
|
|